ระดับความอันตรายของเลเซอร์
เนื่องจากเลเซอร์มีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีหลายแบบ กำลังความเข้มก็แตกต่างกัน อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ก็แตกต่างกันไปมากบ้างน้อยบ้าง หรือบางอันอาจจะไม่เกิดอันตรายเลยแม้จะจ้องลำแสงสัก 5 นาที แต่บางชนิดเพียงแค่แสงสะท้อนจากขอบแผ่นพลาสติกก็อาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นระดับของความระมัดระวัง การป้องกัน ก็จะแตกต่างกันไป ไม่ใช่ว่าเลเซอร์ชนิดใดก็มีมาตรการป้องกันเข้มงวดที่สุดเหมือนกันหมด เช่น ถ้าใช้ฮีเลียมนีออนเลเซอร์ ขนาด 1 ไมโครวัตต์ ก็ไม่ต้องสร้างห้องพิเศษ ไม่ต้องใส่แว่นตาป้องกัน ด้วยเหตุนี้จึงมีการแบ่งระดับความอันตรายของเลเซอร์ โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ (Class) ดังนี้
ระดับที่
1
(Class 1)
เป็นเลเซอร์ที่กำลังน้อยมากจนถือได้ว่าปลอดภัย
โดยเลเซอร์ระดับนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อ ตา ผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
ซึ่งในการใช้งานเลเซอร์ระดับชั้นนี้ไม่ต้องมีการควบคุม หรือมีเครื่องหมายเตือน
นอกจากป้ายติดไว้ที่เลเซอร์ว่าเป็นเลเซอร์ระดับที่ 1 ตัวอย่างเช่น ฮีเลียมนีออนเลเซอร์ขนาด 1 ไมโครวัตต์
ระดับที่
1M
(Class 1M: Magnifier)
เลเซอร์ระดับที่ 1M ประกอบด้วยเลเซอร์ที่ให้กำลังมากกว่าเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่มีลำแสงที่ diffuse นั่นหมายถึงลำแสงสามารถขยายออกได้โดยใช้อุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์
เลเซอร์ระดับที่ 1M ประกอบด้วยเลเซอร์ที่ให้กำลังมากกว่าเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่มีลำแสงที่ diffuse นั่นหมายถึงลำแสงสามารถขยายออกได้โดยใช้อุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์
เท่าที่พบมา
เลเซอร์ระดับนี้ไม่ทำให้เกิดอันตราย
ระดับที่
2
(Class 2)
เลเซอร์ในระดับนี้จะเป็นเลเซอร์ที่กำลังต่ำและมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงที่สามารถเห็นได้ (ความยาวคลื่นในช่วง 400-700 นาโนเมตร) โดยมีกำลังไม่เกิน 1 มิลลิวัตต์ และต้องเป็น ชนิดต่อเนื่องเท่านั้น เลเซอร์ในระดับชั้นนี้ไม่ได้จัดว่าปลอดภัยเหมือนเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่มีอันตรายไม่มากนักและถ้าแสงเลเซอร์ในระดับชั้นนี้เข้าตา การหลับตาทันทีที่รู้ว่าแสงเข้า ซึ่งปกติจะเร็วมาก (ประมาณ 0.25 วินาที) ก็จะเป็นการป้องกันอันตรายที่เพียงพอ เพราะช่วงเวลาที่รับเอาแสงจะสั้นมากจนไม่เป็นอันตราย ตัวอย่างของเลเซอร์ในระดับที่ 2 นี้ได้แก่ ฮีเลียมนีออนเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 632.8 นาโนเมตร (สีแดง) และมีกำลังไม่เกิน 1 มิลลิวัตต์ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในห้องทดลองระดับชั้นมัธยมหรือการทดลองพื้นฐานในระดับ มหาวิทยาลัย สำหรับมาตรการป้องกันที่ใช้คือ การติดป้ายที่เลเซอร์ แสดงว่าเป็นเลเซอร์ระดับที่ 2 และการมีป้ายเตือน
เลเซอร์ในระดับนี้จะเป็นเลเซอร์ที่กำลังต่ำและมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงที่สามารถเห็นได้ (ความยาวคลื่นในช่วง 400-700 นาโนเมตร) โดยมีกำลังไม่เกิน 1 มิลลิวัตต์ และต้องเป็น ชนิดต่อเนื่องเท่านั้น เลเซอร์ในระดับชั้นนี้ไม่ได้จัดว่าปลอดภัยเหมือนเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่มีอันตรายไม่มากนักและถ้าแสงเลเซอร์ในระดับชั้นนี้เข้าตา การหลับตาทันทีที่รู้ว่าแสงเข้า ซึ่งปกติจะเร็วมาก (ประมาณ 0.25 วินาที) ก็จะเป็นการป้องกันอันตรายที่เพียงพอ เพราะช่วงเวลาที่รับเอาแสงจะสั้นมากจนไม่เป็นอันตราย ตัวอย่างของเลเซอร์ในระดับที่ 2 นี้ได้แก่ ฮีเลียมนีออนเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 632.8 นาโนเมตร (สีแดง) และมีกำลังไม่เกิน 1 มิลลิวัตต์ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในห้องทดลองระดับชั้นมัธยมหรือการทดลองพื้นฐานในระดับ มหาวิทยาลัย สำหรับมาตรการป้องกันที่ใช้คือ การติดป้ายที่เลเซอร์ แสดงว่าเป็นเลเซอร์ระดับที่ 2 และการมีป้ายเตือน
เท่าที่พบมา
เลเซอร์ระดับนี้ไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่ให้หลีกเลี่ยงการจ้องไปที่ลำแสง Class
2M: ระดับที่ 2M (Magnifier)เลเซอร์ระดับที่ 2M ประกอบด้วยเลเซอร์ประเภทเดียวกับในระดับที่ 2 แต่ให้กำลังมากกว่าเลเซอร์ระดับที่
2 และมีลำแสงที่ diffuse นั่นหมายถึงลำแสงสามารถขยายออกได้โดยใช้อุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์
ให้หลีกเลี่ยงการจ้องไปที่ลำแสง
ระดับที่
3R
(Class 3R: Restricted)
ประกอบด้วยเลเซอร์ทั้งในย่านที่ตามองเห็นและมองไม่เห็น
ย่านที่ตามองเห็น (ความยาวคลื่นช่วง 400 - 700 นาโนเมตร): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังอยู่ระหว่าง 1 มิลลิวัตต์ ถึง 5 มิลลิวัตต์
ย่านที่ตามองไม่เห็น (เช่น อินฟราเรด และอัลตราไวโอเลต): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังมากกว่ากำลังของเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่น้อยกว่า 5 เท่าของกำลังของเลเซอร์ระดับที่ 1
ตัวอย่างของเลเซอร์ระดับที่ 3R คือ เลเซอร์อาร์กอน ที่ให้แสงสีเขียว มีความยาวคลื่น 514.5 นาโนเมตร ที่มีกำลัง 5 มิลลิวัตต์
ย่านที่ตามองเห็น (ความยาวคลื่นช่วง 400 - 700 นาโนเมตร): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังอยู่ระหว่าง 1 มิลลิวัตต์ ถึง 5 มิลลิวัตต์
ย่านที่ตามองไม่เห็น (เช่น อินฟราเรด และอัลตราไวโอเลต): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังมากกว่ากำลังของเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่น้อยกว่า 5 เท่าของกำลังของเลเซอร์ระดับที่ 1
ตัวอย่างของเลเซอร์ระดับที่ 3R คือ เลเซอร์อาร์กอน ที่ให้แสงสีเขียว มีความยาวคลื่น 514.5 นาโนเมตร ที่มีกำลัง 5 มิลลิวัตต์
อย่ามองเข้าไปในลำแสงเลเซอร์หรือแสงสะท้อนของเลเซอร์
ระดับที่
3B
(Class 3B)
ประกอบด้วยเลเซอร์ทั้งในย่านที่ตามองเห็นและมองไม่เห็น
ย่านที่ตามองเห็น (ความยาวคลื่นช่วง 400 - 700 นาโนเมตร): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังอยู่ระหว่าง 5 มิลลิวัตต์ ถึง 500 มิลลิวัตต์
ย่านที่ตามองไม่เห็น (เช่น อินฟราเรด และอัลตราไวโอเลต): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังมากกว่า 5 เท่าของกำลังของเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่ต่ำกว่า 500 มิลลิวัตต์
ประกอบด้วยเลเซอร์ทั้งในย่านที่ตามองเห็นและมองไม่เห็น
ย่านที่ตามองเห็น (ความยาวคลื่นช่วง 400 - 700 นาโนเมตร): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังอยู่ระหว่าง 5 มิลลิวัตต์ ถึง 500 มิลลิวัตต์
ย่านที่ตามองไม่เห็น (เช่น อินฟราเรด และอัลตราไวโอเลต): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังมากกว่า 5 เท่าของกำลังของเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่ต่ำกว่า 500 มิลลิวัตต์
อย่ามองเข้าไปในลำแสงเลเซอร์หรือแสงสะท้อนของเลเซอร์
เลเซอร์ที่มีกำลังสูงอาจทำอันตรายต่อผิวหนังได้!
เลเซอร์ในระดับที่
3
ทั้งสองระดับย่อยนี้ เป็นเลเซอร์ที่มีกำลังปานกลาง
และจะพบในห้องทดลองวิจัยทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีอันตรายมากขึ้น ต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน
ระดับที่
4
(Class 4)
เลเซอร์ในระดับนี้ คือเลเซอร์ทั้งหลายที่ไม่สามารถจัดอยู่ในระดับอื่น ๆ ข้างต้นได้ แต่จะเป็นเลเซอร์ที่มีกำลังสูงมาก (มากกว่า 5 มิลลิวัตต์) ลำแสงเลเซอร์ระดับนี้ถือว่ามีอันตรายต่อ นัยน์ตาและผิวหนังอย่างยิ่ง แม้กระทั่งลำแสงที่สะท้อนแล้วก็ยังสามารถทำอันตรายได้
ตัวอย่างเช่น เลเซอร์อาร์กอน ขนาด 2 วัตต์ หรือ นีโอดิเมียมแย็กเลเซอร์ชนิดพัลส์ 20 นาโนวินาที ที่มีความเข้ม 1 จูลต่อตารางเซนติเมตร โดยการใช้งานกับเลเซอร์เหล่านี้มีมาตรการโดยทั่วไปคล้ายกับระดับที่ 3 แต่จะรัดกุมยิ่งขึ้น เช่น ต้องใช้กุญแจในระบบควบคุมการเปิดปิดเลเซอร์
เลเซอร์ในระดับนี้ คือเลเซอร์ทั้งหลายที่ไม่สามารถจัดอยู่ในระดับอื่น ๆ ข้างต้นได้ แต่จะเป็นเลเซอร์ที่มีกำลังสูงมาก (มากกว่า 5 มิลลิวัตต์) ลำแสงเลเซอร์ระดับนี้ถือว่ามีอันตรายต่อ นัยน์ตาและผิวหนังอย่างยิ่ง แม้กระทั่งลำแสงที่สะท้อนแล้วก็ยังสามารถทำอันตรายได้
ตัวอย่างเช่น เลเซอร์อาร์กอน ขนาด 2 วัตต์ หรือ นีโอดิเมียมแย็กเลเซอร์ชนิดพัลส์ 20 นาโนวินาที ที่มีความเข้ม 1 จูลต่อตารางเซนติเมตร โดยการใช้งานกับเลเซอร์เหล่านี้มีมาตรการโดยทั่วไปคล้ายกับระดับที่ 3 แต่จะรัดกุมยิ่งขึ้น เช่น ต้องใช้กุญแจในระบบควบคุมการเปิดปิดเลเซอร์
อย่ามองเข้าไปในลำแสงเลเซอร์หรือแสงสะท้อนของเลเซอร์!
หมายเหตุ: กฎเกณฑ์ในการแบ่งระดับชั้นของเลเซอร์มีความแตกต่างกันไปตามประเทศ เช่น
อังกฤษ หรือยุโรป ก็มีระบบหนึ่ง ในสหรัฐอเมริกา แต่ละรัฐก็อาจมีระบบที่ต่างกัน
แต่ก็ต่างกันเฉพาะตรงข้อปลีกย่อยเท่านั้น ประเด็นหลักต่าง ๆ ยังคงเหมือนกัน เช่น
เลเซอร์ชนิดพัลส์กำลังสูง จะเป็นระดับที่ 4 เสมอ
ความปลอดภัยเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าจากเลเซอร์
ถ้าหากจะมีคนเสียชีวิตเนื่องจากเลเซอร์ ก็คงไม่ใช่สาเหตุจากลำแสง แต่คงเป็นเพราะถูกไฟดูดทั้งจากตัวเลเซอร์และที่เกิดจาก แหล่งจ่ายไฟให้แก่เลเซอร์ ทั้งนี้ก็เพราะเลเซอร์บางชนิดจะทำงานที่ความต่างศักย์สูงมากเป็นกิโลโวลต์ และกระแสไฟมากพอจนสามารถทำให้เสียชีวิตได้ เช่น เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์
นอกจากนี้เลเซอร์ชนิดพัลส์ ยังมีการใช้ตัวเก็บประจุที่มีขนาดใหญ่มาก เพื่อทำหน้าที่ให้พลังงานจำนวนมากในช่วงเวลาสั้น ๆ แก่หลอดแฟลช ตัวเก็บประจุจะเป็นสาเหตุของอันตรายหลายอย่างที่เกิดขึ้น เช่น การไปสัมผัสแล้วเกิดการคายประจุผ่านผู้ไปสัมผัส หรือการระเบิดของตัวเก็บประจุ ดังนี้ในการทำงานเกี่ยวกับเลเซอร์ อาจจะมีปัญหาหรืออันตรายจากกระแสไฟฟ้า ต้องอาศัยความระมัดระวัง
ถ้าหากจะมีคนเสียชีวิตเนื่องจากเลเซอร์ ก็คงไม่ใช่สาเหตุจากลำแสง แต่คงเป็นเพราะถูกไฟดูดทั้งจากตัวเลเซอร์และที่เกิดจาก แหล่งจ่ายไฟให้แก่เลเซอร์ ทั้งนี้ก็เพราะเลเซอร์บางชนิดจะทำงานที่ความต่างศักย์สูงมากเป็นกิโลโวลต์ และกระแสไฟมากพอจนสามารถทำให้เสียชีวิตได้ เช่น เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์
นอกจากนี้เลเซอร์ชนิดพัลส์ ยังมีการใช้ตัวเก็บประจุที่มีขนาดใหญ่มาก เพื่อทำหน้าที่ให้พลังงานจำนวนมากในช่วงเวลาสั้น ๆ แก่หลอดแฟลช ตัวเก็บประจุจะเป็นสาเหตุของอันตรายหลายอย่างที่เกิดขึ้น เช่น การไปสัมผัสแล้วเกิดการคายประจุผ่านผู้ไปสัมผัส หรือการระเบิดของตัวเก็บประจุ ดังนี้ในการทำงานเกี่ยวกับเลเซอร์ อาจจะมีปัญหาหรืออันตรายจากกระแสไฟฟ้า ต้องอาศัยความระมัดระวัง
หลักในการทำงานทั่ว
ๆ ไปมีดังนี้
ในการทำงานเกี่ยวกับเลเซอร์
ก่อนจะจับหรือทำอะไร ให้คิดก่อนว่ามือของเราจะไปถูกอะไรหรือไม่
เมื่ออยู่ในห้องของคนอื่นที่มีการใช้งานเกี่ยวกับเลเซอร์อย่าคิดว่าทุกอย่างจะปลอดภัย
เพราะอาจจะมีสายไฟที่เปลือยอยู่แต่มีไฟ ควรถามก่อนจับอะไรในห้องทดลองคนอื่น
จำไว้เสมอว่าเลเซอร์ที่ออกจากผู้ผลิตและเลเซอร์ที่มาอยู่ในห้องของผู้ใช้
อาจมีสภาพแตกต่างกัน เช่น ระบบ interlock ซึ่งเป็นระบบป้องกัน
อาจจะถูกลัดวงจรโดยผู้ใช้ เพื่อความสะดวกในการซ่อมแซมหรือปรับปรุง เพราะฉะนั้น
เมื่อเกิดปัญหา เลเซอร์ก็อาจไม่เปิดเอง เพราะไม่มีระบบ interlock ที่ดีแล้ว
ไม่ควรทำงานคนเดียว
ถ้าต้องทำงานกับเลเซอร์กำลังสูง
เพราะการมีเพื่อนอยู่ด้วยจะช่วยทั้งเตือนเราก่อนเกิดปัญหา
และช่วยเราเมื่อเกิดปัญหาแล้ว ถ้าเกิดปัญหาขึ้นแล้ว เช่น เพื่อถูกไฟดูด ให้ตัดกระแสไฟก่อน
แล้วนำเพื่อออกจากสายไฟ โดยการใช้ฉนวนผลักหรือดึงเพื่อนออกมา ระวังอย่างให้เราถูกไฟดูดด้วย
แล้วรีบนำเพื่อนส่งโรงพยาบาลทันที ถ้าเลเซอร์มีระบบหล่อเย็น
ระวังกรณีที่ไฟรั่วลงน้ำหรือน้ำรั่วไปหาไฟ เพราะเกิดขึ้นได้ง่าย
โดยเฉพาะเลเซอร์ที่ใช้งานนาน ๆ ซึ่งระบบป้องกันรั่วต่าง ๆ เริ่มเสื่อมสภาพแล้ว ถ้ามีตัวเก็บประจุ
อย่างลืมคายประจุก่อนทำงานต่าง ๆ ทุกครั้ง
ที่มา : http://www.sc.mahidol.ac.th/scpy/Optics/basic_laser5.htm
ที่มา : http://www.sc.mahidol.ac.th/scpy/Optics/basic_laser5.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น